SCG

กลุ่มราชพัฒนา ประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น โดยกำหนดนโยบายและรณรงค์สร้างจิตสำนึกส่งเสริมวัฒนธรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างต่อเนื่อง ให้กับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน

เพื่อให้สามารถประเมินความเสี่ยงต่างๆในการปฏิบัติงาน โดยเป็นส่วนหนึ่งในแผนบริหารความเสี่ยงของทุกหน่วยงาน

ซึ่งมีหน่วยงานตรวจสอบภายในเป็นผู้ประเมินติดตาม โดยมีการปฐมนิเทศน์ สื่อสารและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการปฏิบัติตามจรรยาบรรณ และนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่น โดยมีกิจกรรมและแนวทางดำเนินการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นในองค์กร ดังนี้

  1. สร้างจิตสำนึก ค่านิยม ทัศนคติให้แก่พนักงานในการปฏิบัติงานตามกฎหมาย กฎระเบียบ ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต
  2. จัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีการตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจให้เหมาะสม เพื่อป้องกันมิให้พนักงานทุจริตหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต การคอร์รัปชันต่างๆ
  3. ห้ามกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงาน กระทำการใดๆ อันเป็นการเรียกร้องหรือยอมรับซึ่งทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใด สำหรับตนเองหรือผู้อื่นที่ส่อไปในทางจูงใจให้ปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในทางที่มิชอบ หรืออาจทำให้บริษัทเสียประโยชน์อันชอบธรรม
  4. ห้ามกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงาน ให้หรือเสนอที่จะให้ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดแก่บุคคลภายนอก เพื่อจูงใจให้บุคคลนั้นกระทำหรือละเว้นการกระทำใดที่ผิดกฎหมาย หรือโดยมิชอบต่อตำแหน่งหน้าที่ของตน
  5. จัดให้มีกลไกการรายงานสถานะทางการเงินที่โปร่งใสและถูกต้อง
  6. จัดให้มีช่องทางในการสื่อสาร เพื่อให้พนักงานและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถที่จะแจ้งเบาะแสอันควรสงสัย โดยมั่นใจได้ว่าจะได้รับการคุ้มครอง และต้องมีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบทุกเบาะแสที่มีการแจ้งเข้ามา
นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน

จากนโยบายและแนวทางปฏิบัติดังกล่าว บริษัทได้ดำเนินการ ดังนี้

คณะกรรมการได้กำหนดนโยบายต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน พร้อมทั้งกำหนดคู่มือมาตรการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติสำหรับ กรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน โดยมุ่งเน้นการป้องกันและการต่อต้านการคอร์รัปชันทุกรูปแบบทั้งทางตรง และทางอ้อม และไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการให้สินบนและการคอร์รัปชันแก่หน่วยงานของภาครัฐและเอกชน เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน และกำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติสำหรับกิจกรรมที่มีความเสี่ยงที่อาจเกิดการคอร์รัปชัน

เป็นแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนในการดำเนินธุรกิจและลดความเสี่ยงต่อการเกิดการคอร์รัปชัน ทั้งหมด 3 ฉบับ ดังนี้

การบริจาค
การสนับสนุน
ของขวัญ ของกำนัล และการเลี้ยงรับรอง

นโยบายการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน

บริษัทมีนโยบายปฏิบัติตามกฎหมายต่อต้านการคอร์รัปชันโดยห้ามกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานยอมรับหรือสนับสนุนการคอร์รัปชันทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้กำหนดนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน ดังนี้

  1. บริษัทไม่กระทำ และ/หรือ ไม่สนับสนุนการให้สินบน การจ่ายค่าอำนวยความสะดวก ในรูปแบบใดๆ
  2. การให้หรือรับของขวัญ การเลี้ยงรับรอง และการบริการต้อนรับ การให้และรับการสนับสนุน การให้และรับการบริจาค การสนับสนุนทางการเมือง รวมถึง การจ้างพนักงานรัฐ บริษัทจะดำเนินการด้วยความโปร่งใส ชี้แจงและตรวจสอบได้
  3. ส่งเสริมการสร้างจิตสำนึก และค่านิยมในการต่อต้านคอร์รัปชันให้แก่กรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง โดยจัดทำเอกสารเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ
  4. ห้ามกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงาน กระทำการใด หรือเป็นตัวกลางในการเรียก รับทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์ใดจาก หน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานเอกชน เพื่อจูงใจหรือกระทำการผิดกฎหมาย รวมถึงการใช้ตำแหน่งหน้าที่และ/หรือ นำข้อมูลของบริษัทไปแสวงหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น
  5. จัดให้มีกลไกการรายงานสถานะทางการเงินที่โปร่งใสและถูกต้อง มีระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีการตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจให้เหมาะสม เพื่อป้องกันมิให้เกิดการทุจริตหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต การคอร์รัปชัน
  6. กำหนดให้มีการสอบทานการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนการทบทวนแนวทางการปฏิบัติ และข้อกำหนดในการดำเนินการ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ กฎหมาย และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
  7. จัดให้มีช่องทางในการสื่อสารเพื่อให้ผู้แจ้งเบาะแสสามารถที่จะแจ้งเบาะแสอันควรสงสัย โดยให้ความมั่นใจว่าผู้แจ้งเบาะแสจะได้รับการคุ้มครอง

การดำเนินการด้านการต่อต้านการคอร์รัปชัน

บริษัทได้ลงนามประกาศเจตนารมณ์เข้าเป็นแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (Thai Private Sector Collective Action Against Corruption: CAC) เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557 โดยผ่านการรับรองและต่ออายุการรับรอง ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2565

และส่งเสริมให้บริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท สหโคเจน กรีน จำกัด และบริษัท สหกรีน ฟอเรสท์ จำกัด ร่วมลงนามประกาศเจตนารมณ์และเป็นสมาชิกในปี 2561 โดยคณะกรรมการธรรมาภิบาลและบริหารความเสี่ยงเป็นผู้กำกับดูแล คณะทำงานบริหารความเสี่ยงของธุรกิจ และคณะทำงานการดำเนินการโครงการ CAC ในการติดตามตรวจสอบ มีการจัดอบรมและสื่อสารให้แก่ กรรมการบริษัท ผู้บริหาร พนักงาน และเผยแพร่บนเว็บไซต์ของบริษัท www.sahacogen.com เพื่อรับทราบและเป็นแนวทางเดียวกัน และส่งเสริมให้ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมถึงผู้มีส่วนได้เสีย เข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น

คณะกรรมการบริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญในการดำเนินงานด้านการต่อต้านการคอร์รัปชัน และเพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน มีจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกันเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร จึงได้กำหนดให้มีการทบทวนนโยบาย ข้อปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน ทุกปี เพื่อให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

แนวทางการดำเนินการต่อต้านทุจริตกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

  1. ชักชวนและแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีแก่ลูกค้า / คู่ค้า เพื่อมุ่งหวังให้เป็นแนวร่วมการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
  2. สร้างจิตสำนึกพนักงานในองค์กรผ่านการทบทวนจรรยาบรรณทางธุรกิจอย่างสม่ำเสมอ
  3. จัดกิจกรรมรณรงค์การปฏิบัติงานและยกย่องพนักงานที่ประพฤติตนอยู่ในคุณธรรม จริยธรรม
  4. ร่วมมือเพื่อให้ความรู้แก่ชุมชนและโรงเรียนรวมถึงการสร้างสื่อรณรงค์การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
  5. สร้างมาตรการและระบบตรวจสอบภายในเพื่อสร้างความโปร่งใสในการประกอบธุรกิจ

กิจกรรมส่งเสริมและรณรงค์ต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น ในปี 2565

กลุ่มราชพัฒนา ร่วมแสดงเจตนารมณ์ในการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน

บริษัทฯได้เข้าร่วมและได้รับการรับรองฐานะเป็นสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (Thailand’s Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption : CAC) เมื่อปี 2559 เป็นต้นมา และได้รับการต่ออายุสมาชิกฯ ต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 3 ในปี 2564

นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้บริษัทย่อย บริษัท สหโคเจน กรีน จำกัด และ บริษัท สหกรีน ฟอเรสท์ จำกัด เข้าร่วมโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (CAC) โดยได้รับการต่ออายุการรับรองต่อเนื่องครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2563

เป้าหมายการดำเนินงานด้านการต่อต้านการทุจริต
เป้าหมายการดำเนินงานด้านการต่อต้านการทุจริต
ข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริต (Disclosue 205-3 )
2562
0
2563
0
2564
0
2565
0
2566
0
ผลการดำเนินงานด้านการต่อต้านทุจริต (Disclosue205-2)
การตอบรับนโยบายฯ ของผู้บริหารและพนักงานกลุ่มราชพัฒนา 100 %
การเรียนรู้นโยบายจากการทดสอบวัดความรู้
  • ทดสอบวัดความรู้ 100%
  • ผลการประเมิน 100%
ข้อปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน
ใบรับรอง

นโยบายไม่รับของขวัญ

บริษัท ราชพัฒนา เอ็นเนอร์ยี จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

ขอความร่วมมืองดมอบของขวัญแก่บุคลากรของ บริษัท ในทุกเทศกาลและโอกาสอื่นใดเราขอน้อมรับความปรารถนาดีและไมตรีจิตของท่านโดย การเปลี่ยนของขวัญเป็นคําอวยพร

นโยบายการแจ้งเบาะแสการกระทำผิด

คณะกรรมการบริษัทเปิดโอกาสให้พนักงานและผู้มีส่วนได้เสียในการแจ้งเบาะแส หรือข้อร้องเรียน เมื่อพบเรื่องที่อาจเป็นการกระทำผิดกฎหมาย การทุจริตหรือประพฤติมิชอบของพนักงานบริษัท ตลอดจนพฤติกรรมที่อาจเป็นปัญหาและก่อให้เกิดความเสียหายต่อบริษัท รวมทั้งการรับข้อร้องเรียนในกรณีที่พนักงานและผู้มีส่วนได้เสียถูกละเมิดสิทธิหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมโดยผ่านช่องทางและกระบวนการที่บริษัทกำหนดโดยมีมาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียนที่เป็นระบบและยุติธรรม

แจ้งเบาะแสการทุจริต

คำถามและความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญต่อเรา โปรดใช้แบบฟอร์มด้านล่างเพื่อติดต่อเรา แล้วเราจะติดต่อกลับโดยเร็วที่สุด

* ข้อมูลที่จำเป็น
สามารถแนบไฟล์ขนาดสูงสุด : 4MB ,เป็นไฟล์ .doc, docx และ .pdf เท่านั้น