ข่าวแจ้งตลาดหลักทรัพย์
05 มกราคม 2547
สรุปข้อสนเทศ (SCG)
- สรุปข้อสนเทศ -
บริษัท สหโคเจน (ชลบุรี) จำกัด (มหาชน) (SCG)
ที่ตั้งสำนักงานใหญ่:
636 หมู่ 11 ถ. สุขาภิบาล 8 ต. หนองขาม อ. ศรีราชา จ. ชลบุรี 20230 โทรศัพท์ 0-3848-1552-5
โทรสาร 0-3848-1551
ที่ตั้งโรงงาน:
636 หมู่ 11 ถ. สุขาภิบาล 8 ต. หนองขาม อ. ศรีราชา จ. ชลบุรี 20230 โทรศัพท์ 0-3848-1552-5
โทรสาร 0-3848-1551
เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน เมื่อวันที่ 7 เดือน มกราคม พ.ศ. 2547 (เริ่มทำการซื้อขายวันที่ 7 มกราคม 2547)
ประเภทหลักทรัพย์จดทะเบียน หุ้นสามัญ 955,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท รวม 955 ล้านบาท
ตลาดรอง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ราคาเสนอขาย 3.20 บาท ต่อหุ้น
ประเภทกิจการและลักษณะการดำเนินงาน
บริษัท สหโคเจน (ชลบุรี) จำกัด (มหาชน) ("บริษัท") ประกอบธุรกิจเป็นผู้ผลิตและจำหน่าย
ไฟฟ้าและไอน้ำ ดำเนินการภายใต้ประกาศของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (Small Power Producer: SPP) ซึ่ง
ได้รับสัมปทานประกอบกิจการไฟฟ้าจากกระทรวงมหาดไทย โครงการโรงไฟฟ้าของบริษัทตั้งอยู่ภายใน
เขตสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์-ศรีราชา จังหวัดชลบุรี
โรงไฟฟ้าของบริษัทใช้เทคโนโลยีพลังความร้อนร่วม (Cogeneration Technology) ในการผลิต
ไฟฟ้าและไอน้ำ โดยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ในปัจจุบันบริษัทมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น
131.8 เมกะวัตต์ และมีกำลังการผลิตไอน้ำรวม 61 ตันต่อชั่วโมง บริษัททำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจำนวน
90 เมกะวัตต์กับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ระยะเวลาสัญญา 25 ปี และสำหรับไฟฟ้า
ส่วนที่เหลือและไอน้ำบริษัทขายให้กับ บริษัท สหพัฒนา อินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ("SPI")โดย
ที่ SPI ได้นำไฟฟ้าและไอน้ำที่ซื้อจากบริษัทไปจำหน่ายต่อให้กับโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ภายใน
เขตสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์-ศรีราชา อีกทอดหนึ่ง ซึ่งลูกค้าทั้งหมดที่ซื้อไฟฟ้าและไอน้ำจาก
SPI จัดเป็นบริษัทในกลุ่มสหพัฒน์ทั้งหมด
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) -ไม่มี-
สรุปสาระสำคัญของสัญญา
1. สัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัทตกลงทำสัญญาซื้อขาย
ไฟฟ้ากับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ("กฟผ.") อายุสัญญา 25 ปี โดยบริษัทตกลงขายและ
กฟผ. ตกลงซื้อ พลังไฟฟ้าในปริมาณ 90 เมกะวัตต์
2. สัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับบริษัท สหพัฒนา อินเตอร์ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) บริษัทตกลงทำ
สัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ บริษัท สหพัฒนา อินเตอร์ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ("SPI") อายุสัญญาหลัก 15
ปี และสามารถต่ออายุสัญญาได้อีก 25 ปี โดยบริษัทตกลงขายและ SPI ตกลงซื้อพลังไฟฟ้าจากบริษัท
ในปริมาณไม่เกิน 32 เมกะวัตต์เพื่อนำไปจำหน่ายต่อให้ผู้ใช้ไฟฟ้าซึ่งเป็นบริษัทที่ตั้งอยู่ในสวน
อุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์-ศรีราชา จังหวัดชลบุรี ค่าไฟฟ้าที่บริษัทคิดกับ SPI จะประกอบด้วย 2 ส่วน
คือ ค่าพลังไฟฟ้าและค่าพลังงานไฟฟ้า โดยค่าพลังไฟฟ้าเท่ากับยอดรวมเงินค่าพลังไฟฟ้าที่ SPI เรียก
เก็บจากลูกค้าผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งหมด และค่าพลังงานไฟฟ้าเท่ากับค่าพลังงานไฟฟ้าที่ SPI เรียกเก็บจาก
ผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งหมด หักด้วยอัตราส่วนลด
3. สัญญาซื้อขายไอน้ำกับบริษัท สหพัฒนา อินเตอร์ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) บริษัทตกลง
ทำสัญญาซื้อขายไอน้ำกับ บริษัท สหพัฒนา อินเตอร์ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ("SPI") อายุสัญญา
หลัก 15 ปี และสามารถต่ออายุสัญญาได้อีก 25 ปี โดยบริษัทตกลงขายและ SPI ตกลงซื้อไอน้ำใน
ปริมาณไม่เกิน 40.5 ตันต่อชั่วโมงจากบริษัทเพื่อนำไปจำหน่ายต่อให้ผู้ใช้ไอน้ำซึ่งเป็นบริษัทที่ตั้ง
อยู่ในสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์-ศรีราชา จังหวัดชลบุรี
รายได้จากการขายไอน้ำที่บริษัทได้จาก SPI จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ค่าไอน้ำและ
ค่าคอนเดนเสท โดยค่าไอน้ำเท่ากับยอดรวมของค่าไอน้ำที่ SPI เรียกเก็บจากลูกค้าผู้ใช้ไอน้ำทั้งหมด
หักด้วยอัตราส่วนลด และค่าคอนเดนเสทคิดจากปริมาณคอนเดนเสทที่ใช้ไปในระหว่างเดือนคูณ
ด้วยราคาคอนเดนเสทที่คิดกับ SPI ในเดือนนั้นๆ
4. สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติกับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย บริษัทตกลงทำสัญญา
ซื้อขายก๊าซธรรมชาติกับ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ("ปตท.") โดยมีอายุสัญญาในช่วงระยะเวลา
ใช้ก๊าซเพื่อการค้า คือ ระยะเวลา 21 ปี นับตั้งแต่วันเริ่มใช้ก๊าซเพื่อการค้าและสามารถต่ออายุสัญญา
ออกไปได้อีก 4 ปี
5. สัญญาการปฏิบัติการเดินเครื่องและบำรุงรักษา บริษัททำสัญญาการปฏิบัติการเดินเครื่อง
และบำรุงรักษากับบริษัท ออปอเรชั่นนอล เอเนอร์ยี่ กรุ๊ป จำกัด ("OEG") โดย OEG จะต้องดำเนินงาน
การเดินเครื่องและบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า ระบบส่ง และระบบท่อ สัญญาดังกล่าวมีกำหนดสิ้นสุดวันที่
31 ธันวาคม 2548 โดยสามารถต่ออายุสัญญานี้ได้ไม่เกิน 7 ปี
การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (ถ้ามี) -ไม่มี-
การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการจัดการ -ไม่มี-
โครงการดำเนินงานในอนาคต
ลักษณะโครงการในอนาคตของบริษัทมี 2 ประเภท คือ
1) บริษัทอยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติมอีกจำนวน 44 เมกะวัตต์
ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการเปิดประมูลเพื่อว่าจ้างผู้ดำเนินการออกแบบ จัดหาเครื่องจักร อุปกรณ์ และ
ก่อสร้างโรงไฟฟ้า โดยมีแผนการดำเนินงานก่อสร้างโรงไฟฟ้าส่วนขยายในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2547
และคาดว่าโรงไฟฟ้าส่วนขยายสามารถจะเริ่มจ่ายไฟฟ้าได้ในปี 2548 สำหรับเงินลงทุนที่ใช้ในการก่อสร้าง
โรงไฟฟ้าส่วนขยายนี้อยู่ในวงเงินประมาณ 1,200 ล้านบาท โดยจะมาจากเงินทุนของบริษัทประมาณ
300 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจะมาจากการเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน
2) การสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ในสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์แห่งอื่นๆ โดยในปัจจุบัน
บริษัทได้รับการติดต่อจากสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์-กบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ให้ทำการศึกษา
ความเป็นไปได้ของโครงการสร้างโรงไฟฟ้า
รายการระหว่างกัน
ในระหว่างปี 2545 และปี 2546 (ม.ค.- ก.ย.) บริษัทมีรายการระหว่างกันกับบุคคลที่อาจมี
ความขัดแย้ง ดังนี้
บุคคลที่อาจมี ความสัมพันธ์ ขนาดของรายการและยอดคงค้าง ความจำเป็นและความสมเหตุ
ความขัดแย้ง (หน่วย : ล้านบาท) สมผลของรายการ
รายการ ปี 2545 ปี 2546
(ม.ค. - ก.ย)
SPI - SPI มีส่วนได้เสียจากการถือหุ้นทั้ง (1) รายได้จากการขาย 539.79 469.37 ไฟฟ้าและไอน้ำ สาเหตุที่บริษัทไม่
โดยตรงใน SCG คิดเป็นร้อยละ (2) ค่าน้ำดิบ 0.48 1.28 จำหน่ายไฟฟ้าและไอน้ำโดยตรง
21.18 ของทุนจดทะเบียนที่เรียก (3) ค่าธรรมเนียมการจัด 5.50 4.12 ให้กับบริษัทที่อยู่ในเขตสวน
ชำระแล้วและถือหุ้นทางอ้อมใน จำหน่ายไฟฟ้าและ อุตสาหกรรมแต่ใช้วิธีขายผ่าน
SCG ผ่าน SPC S&J และ ICC ไอน้ำ SPI นั้น เนื่องจาก
ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทด้วย (4) ค่าบำบัดน้ำเสีย 2.45 1.83 (1) ในช่วงเริ่มก่อสร้างโรงไฟฟ้า
- มีกรรมการผู้มีอำนาจลงนามบาง (5) ลูกหนี้การค้า 47.27 56.84 ระยะแรกสถาบันการเงินที่
ส่วนร่วมกัน (6) เจ้าหนี้การค้า 0.66 0.88 ปล่อยกู้กำหนดให้มีการ
(7) ค่าธรรมเนียม 0.13 0.26 โอนสิทธิในสัญญาซื้อขาย
ติดตั้งมิเตอร์ ไฟฟ้าและไอน้ำให้กับผู้ให้กู้
ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวกับ
โรงงานอุตสาหกรรมซึ่งมี
จำนวนมากกว่า 60 ราย จะ
ก่อให้เกิดความไม่สะดวกขึ้น
จึงสรุปให้ SPI เป็นคู่สัญญา
ซื้อขายกับ SGC เพียงรายเดียว
และเป็นผู้ชำระเงินค่าไฟฟ้าและ/
หรือค่าไอน้ำรวมทั้งหมดที่ SGC
จัดส่งและจำหน่ายให้กับโรงงาน
อุตสาหกรรม การดำเนินการ
ดังกล่าวได้ช่วยสร้างความมั่นใจ
ให้กับสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้
ในส่วนของรายได้ซึ่งส่งผลถึง
ความสามารถในการชำระคืน
เงินกู้ของ SCG
(2) บริษัทต้องอาศัยระบบสายส่ง
ไฟฟ้าซึ่งเป็นทรัพย์สินของ SPI
(3) สัมปทานประกอบกิจการไฟฟ้า
ที่บริษัทได้รับครอบคลุมเฉพาะ
พื้นที่ตั้งของ SPI เท่านั้น โดย
ไม่ได้ครอบคลุมพื้นที่ของสวน
อุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์-
ศรีราชาทั้งหมด
น้ำดิบ บริษัทซื้อน้ำดิบจาก SPI ใน
กรณีฉุกเฉินที่ EASTW ไม่
สามารถจัดหาน้ำดิบให้แก่บริษัท
ได้ เพื่อเป็นหลักประกันว่าบริษัท
จะมีน้ำดิบเพื่อใช้ในกิจการผลิต
ไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง สำหรับ
ราคาน้ำดิบที่ SPI คิดกับบริษัท
นั้นใช้ราคามาตรฐานที่ SPI คิด
กับโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่
ในสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์-
ศรีราชา
ค่าบำบัดน้ำเสีย บริษัทต้องมีการบำบัด
น้ำเสียเพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์
มาตรฐานที่กรมโรงงาน
อุตสาหกรรมกำหนดไว้ ซึ่งบริษัท
ได้มีการบำบัดน้ำเสียโดยการปล่อย
น้ำทิ้งของบริษัทเข้าสู่ระบบบำบัด
น้ำเสียส่วนกลางของสวนอุตสาหกรรม
เครือสหพัฒน์-ศรีราชา ดังนั้นจึงต้อง
มีการจ่ายค่าบริการในการบำบัดน้ำเสีย
ให้แก่ SPI โดยจ่ายในอัตรามาตรฐาน
ที่ SPI คิดกับโรงงานอุตสาหกรรม
ที่ตั้งอยู่ในสวนอุตสาหกรรมเครือ
สหพัฒน์-ศรีราชา
OEG (1) มี S&J เป็นผู้ถือหุ้นร่วมกัน โดย (1) เจ้าหนี้การค้า 19.04 18.01 เนื่องจากบริษัทไม่มีความชำนาญใน
S&J ถือหุ้นโดยตรงในบริษัท (2) ค่าบริการด้าน 53.64 49.69 การบริหารโรงไฟฟ้า จึงได้ว่าจ้างให้
คิดเป็นร้อยละ 16.26 ของทุน การจัดการจ่าย OEG ดำเนินการแทนโดยที่ค่าตอบแทน
จดทะเบียนที่เรียกชำระแล้ว เป็นไปตามอัตราผลตอบแทนในการ
และถือหุ้นทางอ้อมในบริษัท บริหารโรงไฟฟ้าที่ OEG คิดกับลูกค้า
ผ่าน SPC SPI และ ICC ทั่วไป จึงเป็นราคาที่ยุติธรรม ดังนั้น
และ S&J ถือหุ้นโดยตรงใน รายการระหว่างบริษัทและ OEG จึงมี
OEG คิดเป็นร้อยละ 25.95 ความสมเหตุผลสมควรของการทำ
ของทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้ว รายการเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัท
(2) กรรมการบางส่วนของ OEG
เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
ในบริษัท โดยมีกรรมการหนึ่ง
ท่านของบริษัทที่มีส่วนได้เสีย
ใน OEG คิดเป็นร้อยละ 5 ของ
ทุนจดทะเบียน
บจ. สินภราดร (1) มีผู้ถือหุ้นร่วมกันหนึ่งโดย ค่าที่ดิน 11.30 - เนื่องจากบริษัทจำเป็นต้องขยายกำลัง
ถือหุ้นใน SCG ร้อยละ 2 การผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อรองรับการ
ของทุนจดทะเบียน และ ขยายตัวของโรงงานต่างๆ ในโครงการ
ถือหุ้นในสินภราดรร้อยละ สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์-ศรีราชา
30 ของทุนจดทะเบียน ในปี 2545 บริษัทจึงได้จัดซื้อที่ดินในส่วน
(2) มีกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม ที่อยู่ติดกับโรงไฟฟ้าปัจจุบันจาก บจก.
ร่วมกันหนึ่งท่านซึ่งถือหุ้น สินภราดรในระดับราคาเดียวกับที่มีการ
ในสินภราดรร้อยละ 10 ของ ซื้อขายกันในสวนอุตสาหกรรมเครือ
ทุนจดทะเบียน สหพัฒน์ -ศรีราชา จึงถือได้ว่ารายการ
ซื้อที่ดินดังกล่าวมีความสมเหตุสมผล
และราคาที่ซื้อขายเป็นราคาที่ยุติธรรม
ภาระผูกพัน -ไม่มี-
ปัจจัยเสี่ยง
1. ความเสี่ยงจากการสิ้นสุดสัมปทานประกอบกิจการไฟฟ้ากับกระทรวงมหาดไทย บริษัทได้รับ
สัมปทานประกอบกิจการไฟฟ้าจากกระทรวงมหาดไทยเป็นระยะเวลา 15 ปี ในขณะที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
กับ กฟผ. เป็นระยะเวลา 25 ปี และมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าและไอน้ำกับ SPI เป็นระยะเวลา 15 ปี ดังนั้นหาก
บริษัทไม่ได้รับการต่ออายุสัมปทานประกอบกิจการไฟฟ้าหลังจากครบอายุ 15 ปี จะส่งผลให้บริษัทไม่
สามารถดำเนินการโรงไฟฟ้าและจำหน่ายไฟฟ้าและไอน้ำต่อไปได้ บริษัทจึงมีความเสี่ยงในการประกอบ
ธุรกิจ อนึ่ง สาเหตุที่กระทรวงมหาดไทยไม่สามารถให้สัมปทานแก่บริษัทมากกว่า 15 ปีได้ เนื่องจากติด
ข้อจำกัดทางกฎหมายซึ่งกำหนดอายุสัมปทานสูงสุด คือ 15 ปี
2. ความเสี่ยงจากการบอกเลิกสัญญาซื้อขายไฟฟ้าและไอน้ำ บริษัทมีลูกค้าเพียง 2 ราย ได้แก่ กฟผ.
และ SPI โดยสัดส่วนรายได้ของบริษัท ณ วันที่ 30 กันยายน 2546 มาจาก กฟผ. และ SPI คิดเป็นร้อยละ
69.66 และ 30.27 ของรายได้รวมของบริษัท ตามลำดับ บริษัทจึงมีความเสี่ยงหากลูกค้ารายใดรายหนึ่ง
บอกเลิกสัญญาซื้อขายกับบริษัท อย่างไรก็ตาม บริษัทได้ทำสัญญาซื้อขายระยะยาวกับลูกค้าทั้งสองราย โดย
ที่ผ่านมาบริษัทสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาได้อย่างครบถ้วน จึงถือได้ว่าบริษัทมีความเสี่ยงจากการ
บอกเลิกสัญญาอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
3. ความเสี่ยงในการถูกปรับลดปริมาณพลังไฟฟ้าตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟผ. บริษัทมี
ความเสี่ยงในการถูกปรับลดปริมาณพลังไฟฟ้าตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟผ. ในกรณีที่บริษัทไม่
สามารถจ่ายพลังไฟฟ้าได้ตามปริมาณที่กำหนดในสัญญาและไม่สามารถแก้ไขได้ภายในระยะเวลา 18
เดือน อย่างไรก็ตาม จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมานับตั้งแต่วันเริ่มต้นจำหน่ายไฟฟ้าเพื่อการค้าบริษัท
สามารถผลิตและจ่ายไฟฟ้าให้กับ กฟผ. ได้ตามปริมาณพลังไฟฟ้าที่กำหนดมาโดยตลอด
4. ความเสี่ยงในการพึ่งพิงผู้ดำเนินการด้านการปฏิบัติการเดินเครื่องและบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า
บริษัทได้ว่าจ้าง OEG เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการในการปฏิบัติการเดินเครื่องและบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า
ทั้งหมด จึงถือได้ว่าบริษัทมีความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจที่ต้องพึ่งพิง OEG ในการบริหารงานโรงไฟฟ้า
โดยบริษัทอาจได้รับผลกระทบในกรณีที่ OEG ไม่สามารถปฏิบัติการเดินเครื่องและบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า
ของบริษัทได้ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม หรือ OEG ต้องการยกเลิกสัญญาการบริหารงานกับบริษัทหรือ
เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขต่างๆ ในการรับจ้างบริหารงาน หรือ OEG มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายในการดำเนิน
ธุรกิจ อย่างไรก็ตาม OEG มีความสัมพันธ์กับบริษัทจากการที่มีผู้ถือหุ้นร่วมกัน คือ บริษัท เอสแอนด์เจ
อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) ทำให้เชื่อได้ว่ามีความเป็นไปได้ค่อนข้างน้อยที่ OEG
จะยกเลิกหรือไม่ต่อสัญญากับบริษัท
5. ความเสี่ยงในการจัดหาวัตถุดิบ วัตถุดิบหลักในการผลิตไฟฟ้าและไอน้ำ ประกอบด้วย
ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดีเซล น้ำ และสารเคมี เพื่ออลดความสี่ยงในการจัดหาวัตถุดิบ บริษัทจึงได้มีการ
ทำสัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติกับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ("ปตท.") เป็นระยะเวลา 21 ปี และทำ
สัญญาซื้อขายน้ำดิบระยะยาวกับ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน)
นอกจากนี้ บริษัทยังมีแหล่งน้ำดิบสำรองอีกแหล่งหนึ่ง คือ น้ำในอ่างเก็บน้ำภายในเขตสวนอุตสาหกรรม
เครือสหพัฒน์-ศรีราชา จังหวัดชลบุรี อีกด้วย ทั้งนี้ บริษัทไม่มีปัญหาในการจัดหาวัตถุดิบในการผลิตไฟฟ้า
และไอน้ำประเภทอื่นๆ ดังนั้น บริษัทจึงมีความเสี่ยงในการจัดหาวัตถุดิบโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
6. ความผันแปรของราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักที่ใช้ในการ
ผลิตไฟฟ้าและไอน้ำของบริษัท ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของราคาก๊าซธรรมชาติจะส่งผลกระทบอย่างมี
นัยสำคัญต่อต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของบริษัท อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับบริษัทจากผลกระทบ
ของการผันผวนของราคาก๊าซธรรมชาติจัดอยู่ในเกณฑ์ต่ำ เนื่องจากสูตรการคำนวณค่าพลังงานไฟฟ้าใน
สัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟผ. นั้นได้มีการคำนวณให้แปรผันตามต้นทุนจริงของราคาก๊าซธรรมชาติที่บริษัท
ซื้อจาก ปตท. ทำให้บริษัทได้รับการชดเชยผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงราคาก๊าซธรรมชาติในส่วนของ
การผลิตไฟฟ้าที่ขายให้ กฟผ. ทั้งหมด สำหรับค่าพลังงานไฟฟ้าที่ได้รับจาก SPI นั้นอิงกับสูตรค่าไฟฟ้า
ของ กฟภ. โดยค่าไฟฟ้าส่วนหนึ่งจะแปรผันตามสูตรปรับอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (FT) ที่มีการประกาศ
เปลี่ยนแปลงทุก 4 เดือน ทำให้ค่าพลังงานไฟฟ้าของ SPI มีการปรับตามการเปลี่ยนแปลงของราคาก๊าซ
ธรรมชาติเช่นเดียวกัน ดังนั้นความเสี่ยงจากความผันแปรของราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าของ
บริษัทถือว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
7. ความเสี่ยงที่เกิดจากการที่กลุ่มสหพัฒน์มีอำนาจควบคุมทั้งหมด เนื่องจากในปัจจุบันผู้ถือหุ้น
ส่วนใหญ่ของบริษัทเป็นบริษัท ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทต่างๆ ในกลุ่มสหพัฒน์ ทำให้กลุ่มสหพัฒน์
มีอำนาจควบคุมในบริษัททั้งหมด ไม่มีการถ่วงดุลอำนาจจากผู้ถือหุ้นกลุ่มอื่น
8. ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ในปัจจุบันบริษัทไม่มีภาระเงินกู้ที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ
ดังนั้น ผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนต่อรายจ่ายของบริษัทคงเหลือเฉพาะส่วนหนึ่งของค่าปฏิบัติการและ
บำรุงรักษาที่เป็นสกุลเงินสหรัฐอเมริกาซึ่งคิดเป็นเพียงร้อยละ 1.504 ของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้งหมด
ส่วนของรายได้จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเฉพาะในส่วนของค่าพลังไฟฟ้า
ที่เรียกเก็บจากกฟผ. โดยที่ร้อยละ 80 ของอัตราค่าพลังไฟฟ้าจะแปรตามอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินสหรัฐ
อเมริกา อย่างไรก็ตามเนื่องจากรายได้ในส่วนของพลังไฟฟ้าทั้งหมดคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 22-23
ของรายได้รวม ดังนั้นผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนต่อรายได้รวม จึงอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ
9. ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย เงินกู้ของบริษัทได้มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่ในช่วง 3 ปีแรก
หลังจากนั้นจึงกำหนดเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ทำให้บริษัทมีความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยหลังจาก 3 ปีแรก
ของสัญญาเงินกู้
10. ความเสี่ยงในการผันผวนของกำไรจากการดำเนินงานอันเนื่องมาจากค่าใช้จ่ายในการบำรุง
รักษา ในแต่ละปีบริษัทจะมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาทั่วไป ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาครั้งใหญ่ ค่าใช้จ่าย
ในการซ่อมใหญ่ และค่าใช้จ่ายในการซ่อมชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ ที่เสียหาย ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะส่ง
ผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของบริษัท อย่างไรก็ตาม บริษัทได้มีการวางแผนกำหนดการเดินเครื่องให้
เหมาะสมเพื่อให้กำหนดเวลาการบำรุงรักษาครั้งใหญ่หรือการซ่อมใหญ่ของเครื่องจักรและอุปกรณ์แต่ละชุด
สลับกันไปและอยู่ในคนละปีงบประมาณ นอกจากนี้บริษัทได้จัดสรรเงินสดที่ได้จากการดำเนินงานใน
แต่ละปีเข้าไว้ในบัญชีสำรองเพื่อการบำรุงรักษา เพื่อเป็นหลักประกันว่าบริษัทจะมีเงินสดเพียงพอเพื่อใช้
ในการบำรุงรักษาครั้งใหญ่และการซ่อมใหญ่ในแต่ละครั้ง และไม่ส่งผลกระทบต่อกระแสเงินสดของบริษัท
11. ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย ข้อบังคับ และนโยบายของภาครัฐบาล
ในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างบริษัทกับ กฟผ. ได้ระบุเงื่อนไขในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมาย
ที่ทำให้บริษัทต้องแก้ไขปรับปรุงโรงไฟฟ้าในประการสำคัญ หรือทำให้บริษัทต้องแก้ไขปรับปรุงในด้านอื่น
ซึ่งเกี่ยวข้องกับการผลิตไฟฟ้าหรือการบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าของบริษัท ซึ่งมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อ
ค่าใช้จ่ายหรือรายได้ของบริษัท ดังนั้น บริษัทอาจมีความเสี่ยงเกิดขึ้นได้ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลง
กฎหมายข้อบังคับ และนโยบายของภาครัฐบาลเกิดขึ้น
กรณีพิพาท -ไม่มี-
จำนวนพนักงาน ณ วันที่ 30 กันยายน 2546 จำนวน 11 คน
ประวัติความเป็นมาโดยสรุป
บริษัท สหโคเจน (ชลบุรี) จำกัด (มหาชน) จดทะเบียนก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2539
ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 12 ล้านบาท เพื่อเปิดดำเนินโครงการผลิตไฟฟ้าและไอน้ำในเขตสวน
อุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์-ศรีราชา ในลักษณะของโรงไฟฟ้าระบบพลังงานความร้อนและไฟฟ้าร่วม
(Cogeneration Plant) มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 122 เมกะวัตต์ และไอน้ำ 41 ตันต่อชั่วโมง โดยเป็นการร่วม
ลงทุนระหว่างบริษัท เซิร์น เอเชีย จำกัด ("เซิร์น") และกลุ่มสหพัฒน์ อันประกอบด้วย บริษัท สหพัฒนพิบูล
จำกัด (มหาชน) ("SPC") บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ("ICC") บริษัท เอสแอนด์เจ
อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) ("S&J") และบริษัท สหพัฒนา อินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด
(มหาชน) ("SPI") โดยกลุ่มสหพัฒน์ถือหุ้นในอัตราร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียนและบริษัท เซิร์น เอเชีย
จำกัด ร้อยละ 49 ของทุนจดทะเบียน
กลุ่มเซิร์นเป็นกลุ่มบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจการพัฒนาและ
การบริหารโรงไฟฟ้าขนาดเล็กและขนาดกลางในประเทศสหรัฐอเมริกา จากการที่รัฐบาลไทยได้มีแผน
แปรรูปกิจการไฟฟ้า โดยสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนในกิจการไฟฟ้า เพื่อปรับโครงสร้างกิจการ
ไฟฟ้าให้มีการแข่งขันมากขึ้น ทำให้กลุ่มเซิร์นเล็งเห็นถึงโอกาสและศักยภาพในการเข้ามาดำเนินธุรกิจ
โรงไฟฟ้าในประเทศไทย จึงได้ทำการชักชวนกลุ่มสหพัฒน์ซึ่งมีฐานลูกค้าในภาคอุตสาหกรรมซึ่งมี
ความต้องการใช้ไฟฟ้ามาเป็นผู้ร่วมทุน โดยกลุ่มเซิร์นเป็นฝ่ายสนับสนุนและถ่ายทอดเทคโนโลยีในการ
ดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าให้
ในปี 2542 กลุ่มเซิร์นได้ขายเงินลงทุนใน SCG ให้กับกลุ่มอ๊อคเดน (Ogden) (ต่อมาภายหลังมีการ
เปลี่ยนชื่อเป็นโคแวนต้า (Covanta)) จากนั้นในปี 2545 กลุ่มโคแวนต้า ได้มีการขายเงินลงทุนทั้งหมดที่มีใน
SCG ให้กับกลุ่มสหพัฒน์ ทำให้กลุ่มสหพัฒน์เข้ามาถือหุ้นทั้งหมดใน SCG
ในเดือนเมษายน 2542 บริษัทเริ่มจำหน่ายไฟฟ้าให้กับ กฟผ. และ SPI ต่อมาในเดือนพฤษภาคม
2542 จึงได้เริ่มจำหน่ายไอน้ำให้กับโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ในเขตสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์-
ศรีราชา
มีนาคม 2544 บริษัทได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานส่งเสริมการลงทุน สำหรับโรง
ไฟฟ้าส่วนขยายซึ่งมีกำลังการผลิตไฟฟ้า 9.8 เมกะวัตต์ และไอน้ำ 20 ตันต่อชั่วโมง ซึ่งโรงไฟฟ้าส่วนขยาย
เริ่มจำหน่ายไฟฟ้าและไอน้ำให้กับลูกค้าในสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์-ศรีราชา ได้ในเดือนพฤศจิกายน
2545 ต่อมาในเดือนตุลาคม 2546 คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติโครงการขยายโรงไฟฟ้าเพิ่มเติมอีกจำนวน
44 เมกกะวัตต์ เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นของโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ในเขตสวน
อุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์-ศรีราชา
เงินลงทุนในบริษัทย่อยบริษัทร่วม/บริษัทที่เกี่ยวข้อง -ไม่มี-
การเพิ่ม (ลด) ทุนในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา
หน่วย: ล้านบาท
วัน/เดือน/ปี ทุนที่ (ลด) เพิ่ม หลังเพิ่ม (ลด) ทุน หมายเหตุ/วัตถุประสงค์การใช้เงิน
มิถุนายน 2540 172.00 184.00 เพื่อรักษาอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน
กันยายน 2540 354.32 538.32 เพื่อรักษาอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน
(ยังมีต่อ)