มิติเศรษฐกิจ
บริษัทมีกระบวนการผลิตไฟฟ้าและไอน้ำของบริษัทโดยคำนึงถึงการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานตามแนวคิด Green Energy โดยมีความรับผิดชอบต่อสังคมและการร่วมรับผลประโยชน์ของชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อมตลอดกระบวนการผลิต โดยเริ่มตั้งการวิจัยและพัฒนาโครงการจนถึงการผลิตสินค้าสู่ลูกค้าและผู้บริโภค
การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานเพื่อความยั่งยืน
นโยบายการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
บริษัทให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานด้วยการกำหนดแนวทางการปฏิบัติต่อคู่ค้าที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพของสินค้า/บริการและบริหารความสัมพันธ์อย่างยั่งยืนร่วมกัน ซึ่งบริษัทเชื่อมั่นว่าจะสามารถทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพ การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ตลอดจนสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจทั้งของบริษัทและคู่ค้าได้ในระยะยาวอย่างยั่งยืน
การปฏิบัติที่ดีต่อคู่ค้า
นโยบายและแนวปฏิบัติจรรยาบรรณธุรกิจ ของคู่ค้ากลุ่มราชพัฒนา
- มีดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างอย่างโปร่งใส ปฏิบัติตามระเบียบการคัดเลือกคู่ค้าอย่างเคร่งครัดรวมทั้งปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างเท่าเทียมกันบนพื้นฐานของการแข่งขันที่เป็นธรรมเสมอภาค และเคารพซึ่งกันและกัน ถูกต้องชัดเจน ครบถ้วน ตรวจสอบได้ ในห่วงโซ่อุปทานที่มีการดำเนินธุรกิจตามกฎหมาย ปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- รักษาความลับหรือข้อมูลทางสารสนเทศของคู่ค้า ไม่นำไปใช้เพื่อประโยชน์ตนเอง หรือผู้เกี่ยวข้องโดยมิชอบ
- สร้างสัมพันธภาพและความเข้าใจที่ดีต่อกัน แลกเปลี่ยนความรู้ ร่วมกันพัฒนาและเพิ่มคุณค่าให้แก่สินค้าและบริการ เพื่อการเจริญเติบโตร่วมกัน
- ปฏิบัติตามข้อตกลงทางการค้าและให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติได้ให้รีบเจรจากับคู่ค้าเป็นการล่วงหน้า เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย
- จัดซื้อจัดจ้างโดยคำนึงถึงคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าและบริการอันอาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและอนามัยของพนักงาน ชุมชนสังคม และสิ่งแวดล้อม
- ไม่แสวงหาประโยชน์ ไม่เรียก รับ หรือยินยอมที่จะรับ ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดจากการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งอยู่นอกเหนือข้อตกลงทางการค้า
การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว
บริษัทได้จัดทำคู่มือการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวเพื่อ การดำเนินการในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งส่วนหนึ่งของการ บริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่มีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดมุ่งเน้นการคัดเลือกสินค้าที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยได้พัฒนาแนวปฏิบัติที่ดีต่อคู่ค้าเพื่อช่วยบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับ ดูแลกิจการที่ดี (ESG) อีกทั้งยังเพิ่มและพัฒนาศักยภาพของคู่ค้า โดยเฉพาะการรองรับกฎหมายภาครัฐใหม่ๆ ที่อาจขาด ความเข้าใจจนส่งผลให้การจัดซื้อจัดจ้างเกิดความล่าช้า แนวปฏิบัติ
การคัดเลือกคู่ค้า
บริษัท มีเกณฑ์ในการคัดเลือกคู่ค้า โดยพิจารณาจากความสามารถในการผลิต ที่ตอบสนองความต้องการ ผลิตภัณฑ์ของลูกค้า ความสามารถด้านคุณภาพของคู่ค้า กำลังการผลิต ระบบมาตรฐานต่างๆ ความพร้อมของการบริการ การขนส่ง ความปลอดภัยอาชีวอนามัย รวมถึงการดำเนินธุรกิจของคู่ค้า ที่ตอบสนอง สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยใช้แบบสอบถามในการประเมินเบื้องต้น และทำการตรวจติดตามเพื่อให้มั่นใจว่าคู่ค้าที่คัดเลือกมีศักยภาพเพียงพอ และเชื่อถือได้
การบริหารจัดการกลุ่มคู่ค้ารายสำคัญ
บริษัทได้มีการบริหารจัดการกลุ่มคู่ค้าสำคัญโดยใช้เกณฑ์การจัดซื้อที่มีมูลค่าสูง และ/หรือเป็นคู่ค้าที่มีความสำคัญซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตและ/หรือเป็นคู่ค้าที่มีการจำหน่ายสินค้าและบริการจำนวนน้อยราย การพิจารณาความเสี่ยงและการบริหารจัดการความเสี่ยงของคู่ค้า รวมถึงให้มีการสื่อสารและการเยี่ยมชมกิจการของคู่ค้าตามโอกาสที่เหมาะสมเพื่อกำหนดกลยุทธ์แนวทางและติดตามการพัฒนาคุณภาพและการพัฒนาความร่วมมือในด้านต่าง ๆ กับคู่ค้าให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
การประเมินความเสี่ยงคู่ค้า
การวิเคราะห์ความเสี่ยงในการจัดซื้อ โดยพิจารณาจากคู้ค้าที่มีมูลค่าการจัดซื้อสูง หรือคู่ค้าที่มีปัจจัยในการผลิตสำคัญซึ่งอาจส่งผลถึงการส่งมอบให้กับลูกค้า บริษัทฯจึงต้องประเมินความเสี่ยงว่าจะมีสถานการณ์ใด ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ และจัดทำแผนในการรองรับ เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ไม่เกิดผลกระทบต่อลูกค้าและธุรกิจได้ การทำแผนบริหารความเสี่ยงโดยคู่ค้า โดยคู่ค้าประเมินความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจของตนเอง ในหัวข้อที่มีโอกาสจะเกิดขึ้น และวางแนวทางในการตอบโต้เพื่อไม่ให้เกิดกระทบในการดำเนินธุรกิจระหว่างกัน
การตรวจประเมินคู่ค้า
กำหนดมาตรการการบริหารจัดการคู่ค้ารวมถึงการตรวจประเมิน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ค้าปฏิบัติตามข้อกำหนด ตามมาตรฐานสากล รวมถึงความสามารถในการผลิตของ ผู้จัดจำหน่าย เพื่อบรรลุเป้าหมายในการรักษาคุณภาพ ของสินค้าและบริการ เช่น การตรวจประเมินคู่ค้าด้าน สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดีใน การดำเนินธุรกิจ (ESG On-site Audit) การตรวจเยี่ยมผู้ค้า (Key Supplier Site Visit) เพื่อให้คู่ค้าปฏิบัติสอดคล้องกับ จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
ผลการประเมินคู่ค้า 2566
ประเด็นการประเมิน | จำนวนคู่ค้าที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน (จากจำนวนคู่ค้าที่ประเมินทั้งหมด 162 ราย) | |||
---|---|---|---|---|
คู่ค้ารายเดิม | คู่ค้ารายใหม่ | รวม | ร้อยละ | |
1. ด้านความซื่อสัตย์/ความโปร่งใส/ความรับผิดชอบต่องาน | ||||
|
130 | 32 | 162 | 100% |
|
130 | 32 | 162 | 100% |
2. ด้ารการจัดการและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม | ||||
|
2 | 3 | 5 | 100% |
|
2 | 3 | 5 | 100% |
3. ด้านแรงงานและความรับผิดชอบต่อสังคม | ||||
|
130 | 32 | 162 | 100% |
|
130 | 32 | 162 | 100% |
|
130 | 32 | 162 | 100% |
4. ด้านผลประโยชน์ทับซ้อน | ||||
|
0 | 0 | 0 | 0 |
แนวทางการพัฒนาคู่ค้า
- การให้ข้อมูลลูกค้าในด้านต่างๆแก่คู่ค้า เช่น ความคาดหวังในผลิตภัณฑ์ ระบบมาตรฐาน เกณฑ์คุณภาพ
- การให้ความรู้ในกระบวนการผลิตและเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกัน
- การพัฒนาคู่ค้าเพื่อมุ่งสู่ (Green Procurement) ที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าและผู้บริโภคในอนาคต
- การพัฒนาคู่ค้าในการดำเนินงานตามจรรยาบรรณและจริยธรรมทางธุรกิจ
- การพัฒนาให้คู่ค้ารองมีโอกาสเติบโตกลายมาเป็นคู่ค้ารายสำคัญมากขึ้น
การร่วมมือด้านจรรยาบรรณและจริยธรรมทางธุรกิจ
บริษัทมีความมุ่งมั่นต่อจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจร่วมกันกับคู่ค้า โดยถือปฏิบัติ ตามมาตรฐานแรงงานไทย การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น ทั้งนี้ได้ขยายเครือข่ายพันธมิตรเพื่อร่วมลงนาม ในหนังสือแสดงความมุ่งมั่นต่อจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนดังนี้
การสื่อสารและการมีส่วนร่วมของลูกค้า
ปี 2566
วิธี/รูปแบบ
- ประชุม
ลูกค้า/ผู้มีส่วนได้เสีย
- ระดับบริหารของ กฟผ.
- ระดับบริหารของลูกค้าอุตสาหกรรม
- ระดับปฏิบัติการของ กฟผ.
- ระดับปฏิบัติการของลูกค้าอุตสาหกรรม
ความถี่
- ปีละ 1-2 ครั้ง (ขึ้นอยู่กับประเด็นที่เกิดขึ้นในแต่ะละปี)
- ทุก 3 เดือน หรือตาม กฟผ. นัดหมายเพื่อประชุม
ประเด็นสำคัญ/เป้าหมาย
- ปรึกษาหารือประเด็นในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า แนวทางการดำเนินงานร่วมกันและ สร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า
- ปรึกษาหารือประเด็นด้านสัญญา แนวทางการดำเนินงานร่วมกันและสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า
วิธี/รูปแบบ
- ประชุม
- กิจกรรมสานสัมพันธ์
ลูกค้า/ผู้มีส่วนได้เสีย
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
- ลูกค้าในสวนอุตสาหกรรม
ความถี่
- ปีละ 3 ครั้ง (ขึ้นอยู่กับประเด็นที่เกิดขึ้นในแต่ละปี)
ประเด็นสำคัญ/เป้าหมาย
- ทบทวนข้อกำหนดผลิตภัณฑ์และสรุปผลการดำเนินงานปีที่ผ่านมา
- ติดตามผลการปฏิบัติงาน และการดำเนินการแก้ไขปัญหา
- กิจกรรมสานสัมพันธ์ลูกค้า เช่น การแข่งขันกีฬา กิจกรรมเยี่ยมชมศึกษาดูงาน เป็นต้น
วิธี/รูปแบบ
- ประชุม
- กิจกรรมสานสัมพันธ์
ลูกค้า/ผู้มีส่วนได้เสีย
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ความถี่
- ไตรมาสละ 1 ครั้ง
ประเด็นสำคัญ/เป้าหมาย
- ทบทวนข้อกำหนดผลิตภัณฑ์และสรุปผลการดำเนินงานปีที่ผ่านมา
- ติดตามผลการปฏิบัติงาน และการดำเนินการแก้ไขปัญหา
- กิจกรรมสานสัมพันธ์ลูกค้า เช่น การแข่งขันกีฬา กิจกรรมเยี่ยมชมศึกษาดูงาน เป็นต้น